เวลาที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม ชมรม ทำงานเพื่อสังคม มอบสิ่งที่ดีให้สังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเป็นตัวเงิน กิจกรรมแบบนี้หลายคนชื่นชม ยกย่อง พร้อมสนับสนุน เห็นดีด้วยทุกอย่าง แต่มีข้อจำกัด คือ ทุกคนที่อยากมีส่วนช่วยเหลือนั้น มีเวลาว่างไ่ม่ตรงกัน ติดภาระกิจบ้าง บางคนอยากจะช่วยแต่ไม่รู้จะช่วยตรงไหน ดูเหมือนว่า สิ่งที่รู้เ๊่กี่ยวกับกิจกรรมที่เห็นและทำกันอยู่ ตัวเขาไม่มีความสามารถ ไม่รู้จะทำและช่วยแบบไหนดี งั้นขอให้กำลังใจดีกว่า เพราะไม่มีความสามารถ ไม่เก่งเท่าคนที่กำลังทำ
ถ้าหลายคนคิดแบบนี้ กิจกรรมคงไม่มีใครกล้าเข้ามาช่วย เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถ
เจ้าของ.. ผู้ริเิ่ริ่มโครงการ ผู้ก่อตั้งกลุ่มก็อยากได้คนมาช่วยงานเยอะๆ เมื่อบอกเป้าหมาย แนวทางไป มีคนเห็นด้วยเยอะมาก แต่ทำไมคนที่มาช่วยงานจริงๆ กลับมีจำนวนน้อยกว่าคนที่บอกว่าเห็นด้วย??
เมื่อเรามีสิ่งที่ดีอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถ บอก นำเสนอข้อมูลให้้คนที่สนใจเข้ามาสัมผัสสิ่งดีๆ อย่างใกล้ชิดได้ ได้แต่มองอยู่ห่างๆแล้วชื่นชม ก็ถือว่า ยังไม่ได้สัมผัสและัได้ประโยชน์จากสิ่งดีนั้น
ถ้าการทำกิจกรรมต่างๆ เราทำให้คนที่บอกว่า สนใจ อยากช่วยเหลือแต่คิืดว่าตัวเองไม่มีความสามารถเท่ากับบุคคลที่กำลังทำงานนั้นอยู่ ถ้าทำให้บุคคลเหล่านี้ เกิดความรู้สึกว่า เราก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เราจะเข้ามาช่วยทุกอย่างเท่าที่ำทำได้ แบบนี้จะได้คนเข้ามาทำกิจกรรมมากขึ้น ไม่ใช่แค่คิด "ว่าจะทำ" แต่ไม่ได้ทำสักที
งั้นมาสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สร้างความรัก ความผูกพัน และความคิดที่ว่า ต้องร่วมมือร่วมใจกันทำให้เกิดขึ้นดีกว่า
หลายคนมักจะมีข้ออ้างไว้ก่อนว่า ไม่สะดวก ไม่พร้อม สุขภาพไม่ดี ติดงานในช่วงเวลาไหนบ้าง นั่นเป็นความจำเป็นในหน้าที่การงานของแต่ละคน บางคนอ้างว่า ไม่ีมีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ มีแต่คำว่า "ไม่" เต็มไปหมด ถ้าเปลี่ยนจาก "ไม่" เป็น "ได้" คงจะดีไม่น้อย
ตัวอย่างเช่น การเตรียมงานกับกิจกรรมทีกำลังจะจัดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ มีขั้นตอนการเตรียมงานหลายอย่าง ตั้งแต่เวทีจัดกิจกรรม, เรื่องของป้ายเวที , รูปแบบกิจกรรมบนเวที ฯลฯ คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน ยังไงก็คิดไม่ออก คิดว่า คงช่วยเรื่องนี้ไม่ได้ แต่เราสามารถสร้างคนให้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากขั้นตอนการเตรียมงานได้
การออกแบบเวที, การออกแบบป้าย, เมื่อออกแบบร่างไว้แล้ว ถ้านำไปสอบถามความคิดเ้ห็นกับคนที่กำลังจะเข้ามาร่วมงานแต่เขาคนนั้นบอกว่า ไม่มีความสามารถ ให้สอบถามความคิดเห็นว่า ออกแบบป้ายแบบนี้ ดีไหม สีใช้ได้หรือไม่ ระหว่างใช้สีเขียวกับ สีน้ำตาล สีไหนน่าจะดีกว่ากัน ตัวหนังสือที่ใช้ ถ้าตัดคำนี้ กับเอาไว้อย่างเดิม แบบไหนจะเข้าท่ากว่ากัน
ถึงแม้ว่า คนที่ไปสอบถาม จะไม่มีคำตอบให้ หรือ ให้คำตอบที่ไม่ได้ช่วยในงานนั้นมากนัก เพราะคนทำก็มีคำตอบไว้แล้ว แต่นั่นคือ การปูพื้นการสอนงาน ปลูกฝังแนวคิด ให้เขาคนนั้นรู้ว่า คุณคิด วางแผน ออกแบบ เตรียมงานอย่างไร เพื่อให้เขารับรู้ เกิดความสนใจ หรือ ช่วยตัดสินใจ อย่างน้อย ได้มีส่วนร่วมแล้ว ถ้าเขามีความสนใจมากขึ้น จะสอบถามสิ่งที่สงสัยเพิ่มเติม เช่น ทำไมถึงออกแบบอย่างนี้ คุณก็สามารถบอกแนวคิดของคุณไป หรือถ้าเขาไม่ถาม คุณก็เล่าให้เขาฟังก็ได้ เขาจะซึมซับวิธีคิด วิธีการออกแบบ และรูปแบบการทำงานของคุณไปเรื่อยๆ จากที่ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ ก็จะเริ่มรู้เรื่อง มีข้อมูลเพิ่มขึ้น
จะเ็ป็นสิ่งที่จะทำให้ เขามั่นใจมากขึ้นว่า เขา "สามารถ" ข่วยในกิจกรรมนั้นได้ จากเดิม ที่คิดว่า "ไม่สามารถ" ตลอด
มีตัวอย่างจากบางกลุ่มคนทำงานทำกิจกรรมเพื่อสังคม ประธานกลุ่มมีญาติี่พี่น้อง คนรู้จักที่อยู่ใกล้ๆกันสนใจในกิจกรรมนี้ แต่ไม่ค่อยมีเวลามาร่วมทำกิจกรรมภาคสนาม เพราะเวลาว่างไม่ตรงกัน แต่ผู้ก่อตั้งกลุ่มสามารถเติมประสบการณ์ วิธีคิดในการเตรียมงาน ให้ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดของคุณ เกิดความรู้สึกรัก เป็นเจ้าของ มีส่วนร่วม แม้ว่าจะไม่สะดวก ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้เลย แต่เขาสามารถ "พูดแทนคุณ" บอกกับเพื่อนๆ คนรู้จัก ให้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม ทำงานในส่วนที่ไม่ต้องออกต่างจังหวัด เพราะไม่สะดวก แต่ถ้ารู้ข้อมูล คิด ตัดสินใจ รู้แนวทางเหมือนประธานกลุ่ม ก็เหมือนเป็นมันสมองที่สำคัญ ที่จะช่วยเหลือ ผู้นำกลุ่มได้เป็นอย่างดี
รูปแบบการทำกิจกรรม ไม่มีรูปแบบตายตัว สามารถที่จะปรับรูปแบบให้เหมาะสมได้ตลอด การที่ให้ข้อมูล ประสบการณ์ วิธีคิด หรือ การสร้างคนขึ้นมา แม้จะเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาอยู่บ้าง แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะจะทำให้ได้มุมมองใหม่ๆที่หลากหลาย แม้บางครั้ง คนทำงานตั้งแต่แรกเริ่ม อาจจะไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่า สิ่งที่เคยทำมานั้น ดีที่สุดแล้ว ดีที่สุดแล้ว แต่คนใหม่ๆ ที่เสนอความคิดออกมานั้น เมื่อต้องลงมือคิด หรือทำจริงๆ เขาจะต้องคิดหาวิธีการทำให้สิ่งนั้น สามารถทำออกมาได้จริง การได้พบอุปสรรค ติดขัดบ้างนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้ได้ร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหา ได้มาตรฐานรูปแบบใหม่ๆ ที่จะปรับปรุงการทำงานใ้ห้ดีขึ้น
ภาพชมรมจิตอาสารุ่งอรุณ
แทนที่จะเหนื่อยอยู่แค่ไม่กี่คน เมื่อสร้างคนใหม่เพิ่มเข้ามาช่วยงาน ประธานกลุ่มจะได้มีเวลาในการวางแผน ตรวจสอบผลงานว่า เป็นไปตามเป้าหรือไม่ คนที่ลงมือทำงานในแต่ละขั้นตอน อาจจะมองไ่ม่เห็นจุดบกพร่อง แต่ถ้ามีคนมาร่วมทำงาน แล้วหัวหน้ากลุ่ม ประธานกลุ่มปเ็นคนคอยกำกับดูแล รวบรวม ตรวจสอบ ใช้มันสมองตัดสินใจอย่างเดียว จะมีเวลาในการดูแลผลงาน + ดูแลคน ซึ่งการดูแลรักษาน้ำใจคนที่มาร่วมงานนั้น เป็นส่วนที่สำคัญมากกว่าการดูแลวัตถุ เพราะวัตถุ จะทำอย่างไรก็ได้ จะสร้าง จะทิ้งขว้าง แบบไหนก็ได้ แต่คน ทำให้เกิดผลงาน เกิดมิตรภาพ เกิดสิ่งดีๆขึ้น การใช้เวลาในการดูแลคน สร้างคนพร้อมสร้างผลงานไปด้วย จึงมีค่ามากกว่า เน้นสร้างผลงานอย่างเดียว
เมื่อสร้างคน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ไปไหนไปกัน กี่เป้าหมายที่คิดจะทำ ย่อมไม่ยากเกินฝัน
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การสร้างคนให้รู้สึกรัก.. เป็นเจ้าของ มีจิตอาสาในกิจกรรมเพื่อสังคม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น