วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

46 ภาพบรรยากาศ บันทึกการเดินทางโดยรถไฟ จากหัวลำโพงถึงสถานีบ้านห้วยขวาง ชลบุรี 27 ก.ค.2554

           รถไฟยังคงเป็นพาหนะในการเดินทางที่หลายคนเลือกใช้ ยิ่งมีรถไฟฟรี ที่ไม่ต้องจ่ายเงิน ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนไทยได้เยอะทีเดียว ไม่ว่าจะฟรี หรือไม่ฟรี แต่การเดินทางด้วยรถไฟ ก็ยังคงมีเสน่ห์ และมนต์ขลังหลายอย่างให้สัมผัส อย่างหนึ่งคือ วิถีชีวิตของผู้คนที่ผูกพันกับรางรถไฟ และหัวรถจักรระหว่าง 2 ข้างทาง


photo train




           เช้าวันที่ 27 ก.ค.2554 นายบอนมาถึงหัวลำโพงตอนเช้า ก่อนที่จะไปรับตั๋วฟรีตอน 6 โมงเช้า ก็แวะดูจุดที่ขายหนังสืออย่างที่เห็นในภาพ เป็นหนังสือลดราคา เล่มละ 29 บาทบ้าง 19 บาทบ้าง และอีกหลายราคา ในระหว่างรอรถไฟสาย 283 เข้าเทียบชานชลา เลยแวะหาดูหนังสือไว้อ่านสักหน่อย


photo train


photo train


photo train




          รถไฟมาเทียบชานชลาตอน 6.40 น. กว่าจะออกจากหัวลำโพงก็เป็นเวลา 7.05 น. มีผู้โดยสารขึ้นรถโดยสารหนาตาพอสมควร ส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษา ที่ขึ้นรถไฟไปลงย่านลาดกระบัง

เห็นนักศึกษาลงจากรถไฟก่อนถึงสถานีหัวตะเข้หลายคน ได้สัมผัสวิถีชีวิตของนักศึกษา ย่านลาดกระบังในยามสาย ที่ลงจากรถไฟเดินไปเข้าเรียน


photo train


photo train


photo train


photo train




          ปกติแล้ว เวลานั่งรถไฟ ก็นั่งชมวิวทิวทัศน์ไปเรื่อยๆ แต่วันนี้ เปลี่ยนบรรยากาศ หยิบกล้องมาถ่ายภาพ จากบนรถไฟที่กำลังแล่นอยู่ บางจังหวะ รถจอดที่ชานชลา ได้บรรยากาศอีกแบบหนึ่ง


photo train


photo train


photo train


photo train


photo train




          โรงงานร้าง ริมทางรถไฟ ช่วงที่ออกนอกเขต กทม.สภาพหลังคาพัง เป็นรูโหว่ขนาดใหญ่อย่างที่เห็น คงบอกถึงสภาพเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี


photo train


         ภาพที่ชอบมองมากๆ คือ ผู้คนในท้องทุ่งนาอย่างที่เห็น วิถีชีวิตแบบชนบทเรียบง่าย ที่มองดูทีไร ผ่อนคลายทุกครั้ง การเคลื่อนไหว การทำงานในท้องทุ่ง เป็นไปอย่างมีชีวิตชีวา ต่างจากคนทำงานในสำนักงานอย่างเทียบไม่ได้


photo train


photo train


photo train


photo train




          ถึงแปดริ้ว ตอน 9.00 น. ชุมทางรถไฟที่เป็นเป้าหมายการเดินทางของหลายคน ออกจากสถานีนี้ไปแล้ว ผู้คนบนรถไฟบางตาลงมากๆ เลยนั่งอย่างสบายๆ


photo train


           ริมทางรถไฟในเมืองแปดริ้ว ที่มีรถสามล้อเครื่องจอดอยู่ กับธงชาติขาดๆ หน้าร้าน ที่คงจะสะดุดใจใครหลายคน กับเสื้อกั๊กสีแดงที่เห็นขายในร้าน ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกบางอย่างในใจขึ้นมาทันที


photo train


photo train


photo train


photo train


photo train




ทางรถไฟช่วงข้ามแม่น้ำบางปะกง มองเห็นการสร้างทางรถไฟรางคู่บ้างแล้ว


photo train


photo train


photo train


photo train




          เส้นทางรถไฟ จากแปดริ้วถึง บ้านพูลตาหลวง ยังคงเป็นรางเดียวที่ใช้เดินรถไฟ เมื่อมีรถไฟขบวนที่แล่นสวนมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขบวนบรรทุกตู้สินค้าต่างๆ รถไฟฟรีจึงต้องจอดรอขบวนรถวิ่งสวนมา ที่สถานีดอนสีนนท์ แล้วจึงจะวิ่งไปตามรางต่อไป เมื่อรถไฟสินค้าผ่านไปแล้ว


photo train


photo train


photo train




photo train


photo train


photo train


photo train


photo train




          ยามสาย คนโดยสารรถไฟมีจำนวนน้อย แต่ขากลับเข้า กทม. จะมีคนโดยสารเยอะกว่านี้ ภาพที่ถ่ายมา จึงไม่ค่อยเห็นผู้คนตามสถานีรายทาง มากนัก


photo train


photo train


photo train


photo train




กว่าจะมาถึงสถานีพัทยา เวลาก็ล่วงเลยเข้าไป 10.30 น. แล้ว


photo train


photo train


photo train


photo train




          และแล้วก็เดินทางมาถึงจุดหมายปลายทางจนได้ คือ สถานีรถไฟบ้านห้วยขวาง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ตอน 11 โมงเช้าเศษๆ ที่มีแดดจ้าไปทั่วบริเวณ


photo train


photo train




         จุดหมายปลายทาง คือ "บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน" ที่หมู่บ้านห้วยขวาง หมู่ที่ 7 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี นั่นเอง ซึ่งช่วงนี้ กำลังต่อเติม ซ่อมแซมบ้านใหม่ เจ้าของบ้านเลยต้องย้ายข้าวของมาไว้ที่ศาลาปลื้มใจ ดังภาพ ซึ่งบ้านใหม่ คงจะเสร็จในอีกไม่กี่วันนับจากนี้....

เอาแน่นอนไม่ได้หรอก คนเรา

            เพื่อนโทรมาบอกว่า กำลังจะย้ายที่ทำงาน จาก กทม. มาที่ขอนแก่น เลยอยากจะขอแรงให้ไปช่วยขนสิ่งของ เป็นเพื่อนนั่งรถจาก กทม. มาถึงขอนแก่น ในช่วงการขนย้ายมาด้วย

            ทีแรก บอกว่า ตั้งใจจะย้ายในช่วง 25 ก.ค. แล้วก็ตัดสินใจเลืื่่อนมาเป็น 30 ก.ค. พอถึงวัน ก็บอกว่า จะย้ายวันจันทร์ที่ 2 ส.ค.2554

            เหตุผลที่เื่ลื่อน คือ คุณแม่ของเธอไม่สบาย มีปัญหาสุขภาพ จึงต้องคอยดูแลสุขภาพ ทำให้ต้องเืลื่อนหลายครั้ง

            ในหมู่เพื่อนๆหลายคน ก็บอกว่า จะไปเอาแน่นอนอะไรกับเธอไม่ได้หรอก เลื่อนตลอด ติดขัดอยู่เรื่อยๆ

            หลายครั้งที่คนเรา มีภาระกิจวุ่นวายอยู่ตลอด หลายสิ่งก็จำเป็นต้องทำ ต้องให้เวลา ซึ่งคนเรามีหลายสิ่งให้ต้องคิดและทำ ในเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์เช่นนี้ เราจะได้เห็นประสิทธิภาพของคนๆนั้น ว่า มีการตัดสินใจ การแบ่งเวลา ความรอบคอบ ฯลฯ อย่างไร

            ทุกคนมีเวลาเท่ากัน 24 ชั่วโมงเหมือนกัน แต่มีความสามารถไม่เท่ากัน เพราะวิธีคิด การตัดสินใจ การแบ่งเวลาที่ต่างกันนี่เอง

            หลายคน อยากให้คนอื่นเข้าใจ แต่กลับไม่บอกให้ชัดเจนกว่า เพราะอะไร ทำไม อย่างไร

            การทำให้คนอื่นเข้าใจในเหตุผล และความจำเป็นของตนเอน เ็ป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งนัก แต่หลายคนมักละเลยที่จะสื่อสารให้อีกฝ่ายรับรู้ในส่วนนี้ จึงถูกใครต่อใครบอกว่า คนๆนี้ เอาแน่นอนไม่ได้หรอก

            ที่จริงแล้ว การเอาแน่นอนไม่ได้ แก้ไขได้ โดยการตัดสินใจที่แน่นอน

            เมื่อตัดสินใจ จะทำสิ่งใดแล้ว ก็ต้องพยายามทำให้ได้ตามกำหนดเวลา ไม่ควรเลื่อนบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะจะติดนิสัย เลื่อนอยู่บ่อยๆ

            งานชิ้นหนึ่ง ควรทำให้เสร็จไป เื่พื่อจะได้ไปทำสิ่งอื่นๆ งานอื่น เพราะงานทุกอย่าง มักจะเข้ามาอยู่เสมอ ไม่มีทางที่งานจะลดน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่ งานส่วนตัว กิจกรรม ภารกิจส่วนตัวต่างๆ  งานไม่มีวันหมด อยู่ที่เราสามารถบริหารจัดการการใช้เวลาให้ลงตัวได้อย่างไร

            ความเอาแน่นอนไม่ได้ ก็ให้ข้อคิดได้เช่นกันนะ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Lady Buddha with thousand Hands กับความสามารถของคนพิการทางหู

            วิดีโอนี้ หลายคนคงจะเคยเห็นมาบ้างแล้ว และชื่นชอบอย่างมาก สำหรับการแสดงชุดนี้ แต่เรื่องที่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้น คือ กลุ่มคนที่เห็นทำการแสดงอย่างพร้อมเพรียงกันนี้ เป็นคนที่ไม่ได้ยินเสียงดนตรี เป็นคนที่พิการทางหู



            ในชีวิต ไม่รู้จักเสียงดนตรีที่กำลังเต้นด้วยซ้ำไป

            เหมือนกับคนพิการทางหูอีกมากมายที่อยู่ในเมืองไทย ที่จะต้องอาศัย ล่ามแปลภาษามือ ส่งภาษามือกันวุ่นวาย แต่ท่าทางเหล่านั้น เป็นสิ่งที่แสดงออกแทนคำพูดมากมาย

            คนพิการทางการได้ยิน เป็นคนที่มีทักษะความสามารถพิเศษหลายอย่าง บางคนอาจมองว่า มีมากกว่าคนปกติ ความจริงแล้ว พวกเขาพยายามมากกว่าคนปกติต่างหาก

            เมื่อไม่ได้ยินเสียง บกพร่องทางการได้ยิน ก็ต้องพยายามชดเชยในส่วนที่ขาดหายไป

            ในรายการก่อนจะถึงจันทร์ เมื่อ 24 ก.ค.2554 ทาง ASTV News1 มีประเด็นการพูดคุยเรื่องของ "ล่ามภาษามือ" สื่อสารกับผู้ที่พิการทางการได้ยิน จึงรู้ว่า ในวิดีโอที่เ็ห็น คนพิการทางการได้ยิน เต้นอย่างพร้อมเพรียงสวยงามนั้น พวกเขาไม่ได้ยินเสียงเพลงแต่อย่างใด แต่คุณหมอที่มาเป็นแขกรับเชิญในรายการบอกว่า พวกเขาฟังเสียงสั่นสะเทือนที่มากระทบที่เท้า แ้ล้วใช้พรสวรรค์เรียนรู้ ฝึกฝนและทำการแสดงออกมาตามนั้น

            ความจริง ไม่ว่าคนปกติ หรือ คนที่พิการส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ก็เป็นคนเหมือนกัน เมื่อสิ่งใดขาดไปก็ต้องพยายามทำบางสิ่งเพื่อทดแทน ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนปกติ เพื่อให้มีความสามารถเทียบเท่าคนปกติ

            ..แต่บางครั้ง ก็ใช้ความพยายามมากกว่า และมีความสามารถมากกว่าคนปกติ ที่ไม่ค่อยใช้ความสามารถใดๆเลย

            ประเด็นที่น่าคิดที่ได้ฟังจากในรายการ คนที่พิการทางการได้ยิน และใช้ภาษามือ มักไม่ค่อยมีความขัดแย้งกับใคร การใช้ภาษามือ ใช้เพือบอกความต้องการ บอกความรู้สึกต่างๆ แต่คนปกติ ซึ่งสามารถพูดได้อย่างที่คิด หลายครั้งสิ่งที่พูดกลับกลายเป็นวาจาเชือดเฉือนอีกฝ่าย ให้เจ็บช้ำน้ำใจ ทำให้คนแตกแยก ยุแหย่ เสียดสี ทำให้ผู้คนขัดแย้ง ทะเลาะกันวุ่นวายไปหมด

            แต่คนที่พิการทางการได้ยิน ไม่ค่อยเกิดความขัดแย้งแบบคนปกติมากนัก ลำพังแค่การสื่อสารให้คนปกติเข้าใจ ก็ทำได้ยากเหมือนกัน เพราะต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนปกติ แต่คนปกติกลับสร้างความขัดแย้งกันไปเรื่อยๆ

            น่าคิดเหมือนกัน อะไรที่พร้อม สะดวก สมบูรณ์แบบ หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญหามากมาย ในขณะที่คนพิการที่พยายามสื่อสารให้คนทั่วไปเข้าใจ กลับไม่ค่อยสร้างปัญหาในแบบนั้น

            เหมือนกับคติข้อหนึ่งที่ว่า ลองแกล้งหูหนวก ตาบอกเสียบ้าง เรื่องหลายเรื่องจะไม่ยุ่งมากไปกว่านี้

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทำงานจิตอาสาแบบ Co-creation ถอดบทเรียนจากกลุ่มดินรักษ์ฟ้า-กลุ่มเสบียง-กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

           รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม ในปัจจุบัน มีความหลากหลายทั้งรูปแบบและวิธีการ  แม้คนในสังคมจะมองว่า ผู้คนในยุคนี้ หาคนที่มีจิตอาสาค่อนข้างยาก แต่กลุ่มคนที่ทำงานจิตอาสาจริงๆ มักจะค้นหาคนมาร่วมงานได้เสมอ  มีวิธีการใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นในการทำงานแบบจิตอาสามากมาย เ่ช่น การทำงานแบบ Co-creation ที่มีผู้สังเกตเห็นจากข้อมูล วิดีโอ บันทึกการเดินทาง และเรียกรูปแบบนี้ว่า Co-creation

            การทำโครงการจิตอาสา ,ค่ายอาสาพัฒนา, กิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบเดิมๆนั้น ทีมงานผู้ทำโครงการ จะเป็นคนคิด ออกแบบ วางแผน และดำเนินกิจกรรมทั้งหมด โดย กลุ่มเป้าหมาย เป็นเพียงผู้ร่วมโครงการ, ผู้สังเกตการณ์ และรอช่วยเหลือตามที่ทีมงานในโครงการจะขอความช่วยเหลือตามจังหวะเวลาเท่านั้น

            แต่ในการทำงานแบบ Co-creation  เ็ป็นการสร้างประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของโครงการ และคนในพื้นที่ อย่างเช่น โครงการ ขอเป็นคนดีเพื่อพ่อหลวงครั้งที่ ๓ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11 สิงหาคม 2554 ที่โรงเรียนวัดเขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เป็นการร่วมมือร่วมใจกันระหว่าง กลุ่มดินรักษ์ฟ้า เจ้าของโครงการ และกลุ่มเสบียง+กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ และช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานเรื่องต่างๆ

            Co-creation เป็นการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ได้ศึกษาการทำงาน ได้รู้จักตัวตน วัฒนธรรมการทำงานของแต่ละคน ได้เห็นวิธีคิด มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

            ปกติ เมื่อทีมงานเจ้าของโครงการ ทำโครงการจิตอาสาในพื้นที่
                1. ติดต่อคนในพื้นที่ เพื่อทำโครงการ
                2. มาสำรวจพื้นที่ และทำโครงการ
                3. เสร็จโครงการ

            ถ้าเป็นแบบ Co-creation
                1. ติดต่อคนในพื้นที่ เพื่อทำโครงการ
                2. มาสำรวจพื้นที่ และมีกิจกรรมอื่นทำร่วมกัน สร้างมิตรภาพ
                3. เวลาผ่านไป แล้วกลับมาอีกครั้ง และทำโครงการ
                4. เสร็จโครงการ

                ขั้นตอนที่เพิ่มเข้ามา เป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งใช้เวลาในการสื่อสาร ติดต่อปฏิสัมพันธ์มากกว่าในแบบแรก แต่ไำด้กัลยาณมิตรที่เหนียวแน่นอีกด้วย

            รูปแบบของการกิจกรรม ขอเป็นคนดีเพื่อพ่อหลวง ครั้งที่ 3 ของกลุ่มดินรักษ์ฟ้า ได้มีการตัดสินใจที่จะมาทำโครงการที่ชลบุรี ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2554 หลังจากเสร็จกิจกรรมครั้งที่ 2 โดยการร่วมกิจกรรมกับทางกลุ่มเสบียง และกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน ที่เป็นเจ้าของพื้นที่

            การทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกัน มีการเขียนบทเพลง ขอเป็นคนดีเพื่อพ่อหลวง และ ดินคือข้า โดยไก่ แมลง ส่วนประธานกลุ่มดินรักษ์ฟ้า ได้มาเยี่ยมเยือนและให้สัมภาษณ์ออกในรายการวิทยของสถานีวิทยุชุมชนบ้านห้วยขวาง ทำให้ได้รู้จักตัวตน อุดมการณ์ และความตั้งใจจริงของแต่ละฝ่ายมากขึ้น และกลายเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน นับจากวันนั้น

            เมื่อถึงช่วงเวลาจัดกิจกรรม ทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการช่วยเหลือ ประสานงานอย่างอบอุ่น เต็มที่ จนมองเห็นความสำเร็จของกิจกรรมครั้งนี้ มากกว่าครั้งที่ผ่านมา
           
            การทำงานเพื่อสังคม จากคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ให้เวลาในการศึกษาเรียนรู้กันและกัน และร่วมมือกันทำงาน เหมือนเป็นการประสานพลังในการทำให้กิจกรรมดีๆเื่พื่อสังคม ประสบผลสำเร็จมากกว่า กิจกรรมในครั้งที่ผ่านๆมา

            ++++

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

42 ภาพบรรยากาศ สวนพันธุ์ไม้ของพ่อ เมื่อ 24-07-2554

      สวนพันธุ์ไม้ของพ่อ240754
สวนในบ้านกับบรรดาพันธุ์ไม้ที่พ่อปลูก 24 กค2554 ที่บ้าน กาฬสินธุ์

       ความสุขเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ของคุณพ่อ ในการปลูกต้นไม้มากมาย ตลอดเวลาที่ผ่านมา



photo

photo

photo

photo

photo

photo

photo

photo

photo

photo

photo


photo

photo

photo

photo


photo

photo

photo

photo


photo

photo

photo

photo


photo

photo

photo

photo


photo

photo

photo

photo


photo

photo

photo

photo

photo


photo

photo

photo

photo

photo

photo