วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำตัดสินของศาลโลก 18 ก.ค.2554 กับคำพูดถึง เสด็จพ่อ ร.๕ ในตราดรำลึก

            18 ก.ค.2554 ศาลโลกมีมติให้ไทยและเขมรถอนทหารออกจากพื้นที่ที่เกิดข้อพิพาทบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร แ้ล้วขีดพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมูไว้ให้เป็นพื้นที่ปลอดทหาร และมีมติอีกหลายข้อที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเขมร นักการเืมืองบางคนบอกว่า พอใจในคำตัดสิน แต่กูไม่พอใจ ทำไมไทยต้องถอนทหารออกจากแผ่นดินของตัวเองล่ะ

            ในฟรีทีวีบางช่อง สัมภาษณ์นักวิชาการบางคน บอกในทำนองว่า ต้องหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด บางทีอาจต้องยอมเสียพื้นที่บ้าง เหมือนสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ยอมเสียดินแดน  ฟังแล้วหดหู่ พูดแบบนี้ต้องยกดินแดนให้เขมรไปเลยใช่ไหม



            แล้วก็ไปเจอ "สาสน์เมืองตราด" ฉบับประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ รูปหน้าปก วันตราดรำลึก ๑๐๕ ปี แห่งวันสู่อิสรภาพ ที่นายบอนได้มา ช่วงที่ตามพี่ไก่ แมลงสาบไปร่วมงานเลี้ยง สังสรรค์สื่อมวลชนที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มีข้อมูลที่เสด็จพ่อ ร.๕ ทรงพยายามทุกวิถีทางในการรักษาดินแดนไว้ แต่มหาอำนาจฝรั่งเศสหาเรื่องยึดครอง  ล่าอาณานิคมทุกรูปแบบ พระองค์ท่านทรงพยายามทุกอย่างเพื่อรักษาส่วนสำคัญของไทยไว้  การที่มีงานตราดรำลึกปีที่ ๑๐๕ เพราะเสด็จพ่้อ ร.๕ มีพระปรีชาญาณ มองไกลที่จะคงเมืองตราดไว้เป็นของไทย "ตราด" คือ แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ที่พ่อแลกมาด้วยชีวิต  โดยการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ใช้เวลาเกือบ ๑ ปี เพื่อเจรจาหาวิธีให้ได้คืนมาซึ่งเมืองตราด

            น่าเศร้าที่นักการเมืองไทย เห็นแก่ผลประโยชน์ กำลังจะทำให้เขตแดนเปลี่ยนไป  จากชายแดนเขาพระวิหารมาถึงตราด เพื่อให้เกิดการลากเส้นเขตแดนในทะเล รุกล้ำกินเขตพื้นที่ของไทย เพื่อผลประโยชน์ในแหล่งน้ำมัน





            ในสาส์นเมืองตราด เล่าว่า หลัง ร.๕ เสด็จกลับจากยุโรป "เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพร" นำเรือพระที่นั่งลงไปรับถึงสิงคโปร์ แล้วนำเสด็จตรงมายังเกาะกูด จ.ตราดทันที ทอดสมอเรือพระที่นั่งประทับแรมที่หน้าอ่าวสลัด เป็นเวลา 1 ราตรี เกาะกูด ท้ายทะเลตราด ที่ยังเป็นของไทย ถัดไปเป็นเกาะกงที่ยกให้ฝรั่งเศส ขาไปยังเป็นของเขา ขากลับเ็ป็นของเขา ไม่มีใครรู้ว่า ในพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านทั้งสอง (สองพ่อลูก) รู้สึกอย่างไร
  
            แต่หลักฐานที่หลายคนได้รู้ คือ หลังจากนั้น พระอุระ (อก) ของ "เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพร" เกิดปรากฏเป็นรอยสัก พร้อมทั้งลูกน้องคนสนิทๆอีกหลายคน มีคำว่า "ร.ศ.๑๑๒ ตราด" ซึ่งลุงโภชน์ คนเขียนคอลัมภ์ มองว่า น่าจะมีความหมายเป็นทำนองที่ว่า "เมืองตราดนี้พ่อของเราแลกมาด้วยชีวิต เราต้องรักษาด้วยชีวิต"

            ไม่เฉพาะเืมืองตราดเท่านั้น แต่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย บรรพบุรุษต่อสู้รักษาเอกราช  รักษาบ้านเมืองไว้ให้ลูกหลานด้วยความลำบาก น่าเศร้าใจที่คนไทยหลายคน ไม่เคยคิดรักษาผืนแ่ผ่นดินเกิดเหมือนบรรพบุรุษไทย

            จะต้องมีใคร มีรอยสัก "พ.ศ.๒๕๕๔ เขาพระวิหาร" อย่างนั้นหรือ??

Related Posts by Categories



Widget by Hoctro | Jack Book

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น