ในการร่วมงาน การพูดคุยกัน หลายครั้ง ที่เกิดการกระทบกระทั่ง ขัดแย้ง เข้าใจผิดจนเป็นเรื่องบาดหมางกัน ทะเลาะกันจนบานปลายเป็นศัตรูกันได้ หลายคนจึงพยายามแยกคู่กรณีออกจากกัน เพื่อให้อารมณ์เย็นลง สติสัมปะชัญญะกลับคืนมาจะไ้ดู้พูดคุยกัน ทำความเข้าใจกันง่ายขึ้น
ใช้วิธีนิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว อดทนอดกลั้นให้พายุร้าย ผ่านไป
วิธีนี้เป็นวิธีที่ดี แต่หลายครั้ง การนิ่งสงบ กับเป็นการหนีปัญหา ไม่แก้ปัญหา ปล่้อยให้ปัญหาเล็กๆขยายตัว แก้ไขยากกว่าเดิม
ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีความขัดแย้ง ความไม่เ้ข้าใจกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่า อีกฝ่าย คิดบางอย่างที่ไม่ซื่อตรง แอบรัก หรือคิดจะแย่งแฟนสาว สังเกตดูการกระทำ เข้าใจได้ว่า เป็นแบบนั้น วันหนึ่งจึงกล่าวหาให้ข้อมูลเรื่องความไม่พอใจให้ฝ่ายนั้นรู้ และบอกความต้องการไป
ฝ่ายนั้น ชี้แจงข้อมูลไปตามความเข้าใจตน หลังจากนั้น ฝ่ายผู้กล่าวหายังคงนิ่งเงียบ ไม่กล่าวอะไร
ข้อกล่าวหาที่ฝ่ายแรก บอกออกมา เป็นสิ่งที่คาใจฝ่ายหลัง เมื่อชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาไปแล้ว ไม่มีการตอบรับว่าเ้ข้าใจ หรือไม่ยอมรับ ปัญหาก็ยังคาอยู่ เื่มื่อพยายามชี้แจงว่า คุณเข้าใจผิด แต่ฝ่ายแรกนิ่งเงียบ ก็ต้องคาดเดาเอาว่า ฝ่ายแรกคิดอย่างไร แล้วข้อกล่าวหาที่ยังคาใจอยู่ว่า ทำไมถึงคิดอย่างนั้น จากจุดนั้น สามารถเกิดความคิดได้หลายอย่าง . ทำไมถึงกล่าวหาแบบนั้น, ใครบอก, แล้วทำไมฝ่ายหญิงไม่บอกความจริง, หรือ ทั้งสองฝ่าย หาทางกำจัดใ้ห้ออกไปจากจุึดนั้น, หรือฝ่ายหญิงคิดนอกใจฝ่ายชาย ฯลฯ
ยิ่งเื่ื่ื่มื่อพรรคพวกผู้ใกล้ชิดกับฝ่ายแรก ได้ฟังคำพูดของเขาคนนั้น ท่าทางที่เปลี่ยนไป เพราะำไ่ม่อยากยุ่งกับเรื่องส่วนตัวของทั้งคู่ จึงต้องระมัดระวังในการพูด ก็ืำทำให้ฝ่ายหลังคิดได้เช่นกันว่า พรรคพวกเหล่านั้น เปลี่ยนไป เข้าข้างฝ่ายแรก เกิดเรื่องคาใจ บาดหมางกันอีก
วิธีแก้ไข คือ แก้ให้ตรงจุด เปิดใจ มีความจริงใจในการพูดคุย ผู้กล่าวหาต้องเปิดใจรับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย แล้วคอยสังเกต ตรวจสอบ หาทางพิสูจน์ให้ัชัดเจนว่า เป็นไปตามข้อกล่าวหามากน้อยเพียงใด ถ้าทุกฝ่ายมีความจริงใจ ความขัดแย้งจะเริ่มคลี่คลาย แต่ถ้าไม่จริงใจ ก็สมควรที่จะเป็นคนละฝ่าย เิกคบกันไปได้ก็คงดี
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
นิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหวกับนิ่งเฉยเพื่อหนีปัญหา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น