"....เมื่อ ก่อนรถหาย คนไทยต้องไปตามหาที่เขมร ตอนนี้หนักขึ้น แผ่นดินไทยหาย คนไทยก็ต้องไปตามเอาคืนที่เขมร เห็นเขารบกัน น้ำตาจะไหล ภาพเด็กๆไม่ได้โรงเรียน คนแก่หนีภัย ผู้คนไร้ที่พัก สิ่งนี้หรือที่คนไทยต้องการ สงครามยังไม่สงบ คนไทยต้องรอนับศพทหาร.. "
ความรู้สึกจากใจของผู้หญิงไทยตัวเล็กๆคนหนึ่งที่เชียงใหม่ ที่สะท้อนถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ได้เป็นอย่างดี ในอดีต เราเคยแต่เห็นภาพของชาวเขมรอพยพ ไม่นึกเลยว่า วันนี้ เราจะได้เห็นภาพ คนไทยอพยพหนีภัยสงคราม ในแผ่นดินของเราเอง
สงครามที่เราไม่เคยคิดจะก่อ
หลากหลายคำถามมากมายในขณะนี้ ทำไมถึงปล่อยให้เหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นกับคนไทยที่รักสงบ ทำไมจึงมีการปล่อยให้ทหารเขมร ยิงปืนเข้าใส่พลเรือนของไทย ทำไมบ้านเรือน โรงเรียน จึงถูกระเบิด ทำไมๆๆๆๆๆ
มีเสียงเรียกร้อง 3 ข้อที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ 25 ม.ค.2554 คือ
1.การถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก
2.ยกเลิกเอ็มโอยู 2543 และ
3.ผลักดันชาวกัมพูชาออกไปจากแผ่นดินไทย
เมื่อเห็นภาพข่าว และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น น่าเศร้าใจ ที่ ชาวไทยต้องอพยพชั่วคราวออกจากแผ่นดินไทย ออกจากบ้านเรือนเพื่อหลบหนีภัยสงครามที่เกิดขึ้น
แต่เมื่อเกิดความเดือดร้อนที่ชายแดนใกล้เขาพระวิหาร น้ำใจคนไทยที่เห็นภาพข่าวในทีวี ต่างร่วมใจบริจาคงเงิน สิ่งของเพื่อมอบให้แก่คนไทยผู้ต้องประสบภัยสงคราม ทีวี หน่วยงานหลายแห่ง เปิดรับบริจาคเพื่อการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ รวมทั้ง ศูนย์กลางนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ,มูลนิธิความฝันของชาวไทย, เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน (ครส.) ได้ไปตั้งจุดเพื่อรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยการปะทะไทย-เขมร เช่นกัน
ถึงแม้ ศนท, ,มูลนิธิความฝันของชาวไทย และ ครส จะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆในสังคมไทย แต่ก็พร้อมช่วยเหลืออย่างเต็มที่เท่าที่สามารถจะทำได้ และได้รับน้ำใจจากคนไทยในยามนี้อย่างต่อเนื่อง
ในระหว่างที่ตั้งจุดรับบริจาคอยู่นั้น คนหนึ่งในคณะที่ไปรับบริจาค เห็นขอทานหลังค่อมคนหนึ่งเดินอยู่แถวนั้น ด้วยความที่เป็นคนมีใจเมตตา เขาจึงควักเงินในกระเป๋า หย่อนใส่กระป๋องให้ขอทานหลังค่อมคนนั้นไป เมื่อขอทานคนนั้นได้รับเงินแล้ว กลับเดินถือกระป๋องเข้ามาหาคนในคณะอีก ทุกคนในคณะคิดว่า เขาคงจะมาขอเงินเพิ่ม
ยังไม่ทันที่ใครจะทำอะไร ขอทานแก่หลังค่อมได้หยิบเงินกระป๋องของ ตนเอง 1 บาท ออกมาหยอดกลับลงใน กล่องรับบริจาค จนทำให้คนในคณะผู้รับบริจาค ต้องน้ำตาคลอเบ้าไปตามๆกัน!!!
Credit :
เรื่องราวโดย คุณ Chalermphon Manopas (ความประทับใจที่คนไทยควรรับรู้)
ภาพ โดย คุณบวร ยสินทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น